ก.แรงงาน เข้ม”เซฟตี้ไทยแลนด์”ลดสถิติอันตรายในโรงงาน ภาคก่อสร้าง ขนส่ง และเกษตร
ก.แรงงาน ประชุมหน่วยงานบูรณาการขับเคลื่อน Safety Thailand ภายใต้กรอบ MOU รวม6 กระทรวง ตั้งเป้าลดสถิติประสบอันตรายใน 4 ประเภทกิจการ สถานประกอบการ ภาคก่อสร้าง ขนส่ง และเกษตรกรรม เข้มข้นบูรณาการแผนปฏิบัติให้สอดคล้องกัน พร้อมรายงานให้ ครม.ทราบเป็นระยะ หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมหน่วยงานบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ของประเทศไทย (Safety Thailand) ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน
โดยกล่าวว่าการขยายผลการดำเนินการโครงการ Safety Thailand เพื่อป้องกันการสูญเสียที่ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ครอบครัว ประชาชนทั่วไปและภาพลักษณ์ของประเทศ จึงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดมาตรการเชิงป้องกันในการประสบอันตรายในกิจการกลุ่มเสี่ยง 4 ประเภท ได้แก่ 1) สถานประกอบกิจการ มุ่งเน้นเกี่ยวกับอัคคีภัย เครื่องจักร ที่อับอากาศ และรังสี 2) กิจการก่อสร้าง 3) ภาคเกษตรกรรม ที่เสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร และ4) กิจการขนส่งทางน้ำและทางบก ซึ่งต้องบูรณาการทำงานอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตามโครงการความปลอดภัยอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ภายหลังการลงนามตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 6 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดการประสบอันตรายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 นั้น มีผลการดำเนินงานพบว่า ในงานก่อสร้างสามารถลดสถิติการประสบอันตรายลงได้ในอัตราร้อยละ 7.78 อัคคีภัยลดลงร้อยละ 38.1 สารเคมีอันตรายลดลงร้อยละ 12 ส่วนในภาคเกษตรพบว่า มีกลุ่มเกษตรที่มีความเสี่ยงรับสารเคมีประเภทสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ในการทำงานขับเคลื่อนโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทยในแต่ละประเภทกิจการระยะต่อไปนั้นขอให้แต่ละหน่วยงานกำหนดตัวชี้วัดร่วมในงานที่ได้บูรณาการกัน เพื่อให้สามารถประเมินได้ว่า จะสามารถลดอุบัติเหตุและอุบัติภัยได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้แต่ละหน่วยงานบูรณาการการทำงานกัน มากขึ้น โดยจะมีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นเจ้าภาพร่วมเพื่อให้มีแผนปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ จะมีการรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีได้ทราบเป็นระยะ เนื่องจากนโยบาย Safety Thailand เป็นส่วนหนึ่งของผลงานรัฐบาลและ คสช. ในช่วง 3 ปีนี้ด้วย
โดยกล่าวว่าการขยายผลการดำเนินการโครงการ Safety Thailand เพื่อป้องกันการสูญเสียที่ส่งผลกระทบต่อลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน ครอบครัว ประชาชนทั่วไปและภาพลักษณ์ของประเทศ จึงต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดมาตรการเชิงป้องกันในการประสบอันตรายในกิจการกลุ่มเสี่ยง 4 ประเภท ได้แก่ 1) สถานประกอบกิจการ มุ่งเน้นเกี่ยวกับอัคคีภัย เครื่องจักร ที่อับอากาศ และรังสี 2) กิจการก่อสร้าง 3) ภาคเกษตรกรรม ที่เสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีทางการเกษตร และ4) กิจการขนส่งทางน้ำและทางบก ซึ่งต้องบูรณาการทำงานอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตามโครงการความปลอดภัยอาชีวอนามัยของประเทศไทย (Safety Thailand) ภายหลังการลงนามตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทั้ง 6 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุข โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดการประสบอันตรายไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 นั้น มีผลการดำเนินงานพบว่า ในงานก่อสร้างสามารถลดสถิติการประสบอันตรายลงได้ในอัตราร้อยละ 7.78 อัคคีภัยลดลงร้อยละ 38.1 สารเคมีอันตรายลดลงร้อยละ 12 ส่วนในภาคเกษตรพบว่า มีกลุ่มเกษตรที่มีความเสี่ยงรับสารเคมีประเภทสารกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.85 ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า ในการทำงานขับเคลื่อนโครงการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศไทยในแต่ละประเภทกิจการระยะต่อไปนั้นขอให้แต่ละหน่วยงานกำหนดตัวชี้วัดร่วมในงานที่ได้บูรณาการกัน เพื่อให้สามารถประเมินได้ว่า จะสามารถลดอุบัติเหตุและอุบัติภัยได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อให้การทำงานสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้แต่ละหน่วยงานบูรณาการการทำงานกัน มากขึ้น โดยจะมีกระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นเจ้าภาพร่วมเพื่อให้มีแผนปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ จะมีการรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีได้ทราบเป็นระยะ เนื่องจากนโยบาย Safety Thailand เป็นส่วนหนึ่งของผลงานรัฐบาลและ คสช. ในช่วง 3 ปีนี้ด้วย