นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะมีกำหนดการเดินทางเพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม 2560 ณ โรงแรม Cinnamon Laheside กรุงโคลัมโบ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ตามคำเชิญของกระทรวงการจ้างงานต่างชาติศรีลังกา เพื่อหารือกับประเทศผู้ส่งแรงงานอื่นๆ และประเทศผู้รับแรงงานในอ่าวอาหรับถึงแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบดูแลและการบริหารจัดการแรงงานที่เดินทางไปทำงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ยังถือเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านแรงงานของประเทศไทยจะได้กระชับความร่วมมือกับรัฐบาลของประเทศผู้รับแรงงาน ตลอดจนหาวิธีและสร้างมาตรการที่เข้มแข็งเพื่อป้องกันการจัดหางานที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งส่งเสริมสวัสดิการและการคุ้มครองเพื่อให้แรงงานไทยมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบแรงงานในทุกรูปแบบ ด้วยการสนับสนุนจากองค์การแรงงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศนั้น
นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากจะได้หารือกับประเทศผู้ส่งแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงานในอ่าวอาหรับแล้ว พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะได้ปรึกษาหารือกับประเทศที่ส่งแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในการกำหนดมาตรการแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกรณีกระบวนการตรวจสัญชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการของประเทศต้นทางที่ตรวจพิสูจน์สัญชาติแรงงานของตนมีความล่าช้า ซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางดำเนินการในส่วนนี้ด้วย นอกจากนี้ จะได้หารือกับประเทศอื่นๆ เพื่อหาลู่ทางในการนำแรงงานจากแหล่งอื่นเข้ามาทดแทน หากพ้นระยะเวลาผ่อนผันให้ทำงานแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย รวมทั้งจะได้ดำเนินการให้แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายด้วย
นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากจะได้หารือกับประเทศผู้ส่งแรงงาน และประเทศผู้รับแรงงานในอ่าวอาหรับแล้ว พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน จะได้ปรึกษาหารือกับประเทศที่ส่งแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทย ในการกำหนดมาตรการแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมกรณีกระบวนการตรวจสัญชาติ ซึ่งเป็นการดำเนินการของประเทศต้นทางที่ตรวจพิสูจน์สัญชาติแรงงานของตนมีความล่าช้า ซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางดำเนินการในส่วนนี้ด้วย นอกจากนี้ จะได้หารือกับประเทศอื่นๆ เพื่อหาลู่ทางในการนำแรงงานจากแหล่งอื่นเข้ามาทดแทน หากพ้นระยะเวลาผ่อนผันให้ทำงานแล้วแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จ ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในประเทศไทย รวมทั้งจะได้ดำเนินการให้แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกระบวนการของกฎหมายด้วย
“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยังได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานเร่งรัดประสานการตรวจพิสูจน์สัญชาติกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเร่งด่วน โดยให้เชิญเอกอัครราชทูตฝ่ายแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านมาเจรจา เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการในการเร่งรัดการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จต่อไป”