รมว.แรงงาน ลงพื้นที่แม่สอด ติดตามขับเคลื่อนงานพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
รมว.แรงงาน ลงพื้นที่เเม่สอด เร่งพัฒนากำลังเเรงงาน สอดรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เตรียมความพร้อมกำลังเเรงงานทั้งไทยเเละแรงงานต่างด้าว เพื่อให้เพียงต่อความต้องการของตลาดเเรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
21 เมษายน 2560 พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานด้านแรงงานตามนโยบายรัฐบาล พร้อมรับฟังประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมชั้น 4 สำนักงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยกล่าวว่า “จังหวัดตากเป็นประตูการค้าชายแดนที่สำคัญของประเทศ และเป็นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก/ตะวันตก (East – West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้เป็นพื้นที่รองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้มีการขยายตัวของสถานประกอบการและการจ้างงานเพิ่มขึ้น ในโอกาสนี้กระทรวงแรงงานได้รับทราบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงความจำเป็นในการใช้แรงงานต่างด้าวในพื้นที่ ซึ่งจังหวัดตากและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานได้เตรียมความพร้อมด้านแรงงาน ทั้งด้านการจัดหากำลังแรงงานภายในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง การเตรียมพัฒนาฝีมือแรงงานและยกระดับฝีมือแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ ที่จะรองรับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านเเรงงานจังหวัดตากนั้น มีประชากรทั้งสิ้น 631,965 คน เป็นกำลังแรงงาน 389,899 คน มีแรงงานในระบบ จำนวน 247,918 คน (คิดเป็นร้อยละ 63.59) มีแรงงานนอกระบบ จำนวน 141,981 คน (คิดเป็นร้อยละ 36.41) ส่วนใหญ่ทำงานด้านการเกษตรและประมง สำหรับ การยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาในจังหวัดตาก จำนวนทั้งสิ้น 42,473 คน จากนายจ้าง 13,430 ราย แยกเป็นกลุ่มนำเข้าตามระบบ MOU จำนวน 4,574 คน กลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว จำนวน 14,884 คน กลุ่มผู้ถือบัตรสีชมพูตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 21,624 คน กลุ่มบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนหรือกลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูง จำนวน 696 คน
ต่างด้าวเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 611 คน และต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 84 คน
ต่างด้าวเข้าเมืองถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 611 คน และต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 84 คน
พลเอกศิริชัย กล่าวเพิ่มเติมภายหลังการประชุมว่า “ขณะนี้กระทรวงแรงงาน กำลังดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระยะ 20 ปี และแผนแม่บทพัฒนาแรงงานไทย เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล โดยให้ความสำคัญกับ 8 วาระปฏิรูป 1) การปรับบทบาทของกระทรวง
2) Zero Corruption 3) Information Technology 4) Safety Thailand 5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แรงงานผิดกฎหมาย และแรงงานเด็ก 6) การเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อรองรับ Thailand 4.0 7) มิติใหม่ของการส่งเสริมการมีงานทำ และ 8) การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบด้วย”
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบแนวทางการปฏิบัติราชการแก่หัวหน้าส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานน้อมนำ”ศาสตร์พระราชา”ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ บูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยการดำเนินกิจกรรมของทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงานต้องให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในสังกัด และสามารถประสานส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้อย่างครบวงจร พร้อมทั้งเน้นย้ำให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน โดยที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานทุกคน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งข้อมูลด้านนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ รวมถึงผลการดำเนินงานด้วย
2) Zero Corruption 3) Information Technology 4) Safety Thailand 5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แรงงานผิดกฎหมาย และแรงงานเด็ก 6) การเพิ่มผลิตภาพแรงงานเพื่อรองรับ Thailand 4.0 7) มิติใหม่ของการส่งเสริมการมีงานทำ และ 8) การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบด้วย”
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบแนวทางการปฏิบัติราชการแก่หัวหน้าส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้ง 5 จังหวัด ประกอบด้วย ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานน้อมนำ”ศาสตร์พระราชา”ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ บูรณาการการทำงานกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน โดยการดำเนินกิจกรรมของทุกหน่วยงานของกระทรวงแรงงานต้องให้เกิดความเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในสังกัด และสามารถประสานส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้อย่างครบวงจร พร้อมทั้งเน้นย้ำให้แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน โดยที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานทุกคน รวมถึงเครือข่ายอาสาสมัครแรงงานต้องเป็นนักประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งข้อมูลด้านนโยบาย แนวทางการปฏิบัติ รวมถึงผลการดำเนินงานด้วย