Skip to main content

สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

สำนักงานแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมบูรณาการตรวจสอบสถานประกอบการ และที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวในพื้นที่

pll_content_description

สำนักงานแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมบูรณาการตรวจสอบสถานประกอบการ และที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และยาเสพติดในสถานประกอบการ

วันที่ 17 มิถุนายน 2563 เวลา 09.00 น. นางพนิดา เสถียรจิตร แรงงานจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมชุดตรวจบูรณาการฯ ตรวจสอบสถานประกอบการ และที่พักอาศัยแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และยาเสพติดในสถานประกอบการ ซึ่งชุดตรวจบูรณาการสถานประกอบการฯ ประกอบด้วย
1. แรงงานจังหวัดศรีสะเกษ
2. ผู้แทนตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดศรีสะเกษ
3. ผู้แทนจัดหางานจังหวัดศรีสะเกษ
4. ผู้แทนสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
5. เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.ราษีไศล
6. เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อุทุมพรพิสัย
รวมทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน โดยได้บูรณาการกำลังเข้าตรวจสอบสถานประกอบกิจการ ในพื้นที่อำเภอ อุทุมพรพิสัย และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
ผลการตรวจสอบสถานประกอบการ จำนวน 2 แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน 27 คน ลูกจ้างต่างด้าวสัญชาติเมียร์มา จำนวน 11 คน รวมลูกจ้างทั้งสิ้น จำนวน 38 คน ดังนี้
1. บจก.ข้าวหอมมะลิไทย เลขที่ 54 หมู่ที่ 2 ต.หัวช้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ประเภทกิจการ โรงสี
2. บจก.สมบูรณ์ทวีทรัพย์ เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 ต.จิกสังข์ทอง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ประเภทกิจการ โรงสี

ได้ตรวจวัดอุณหภูมิของแรงงานในสถานประกอบการทุกรายพบว่ามีอุณหภูมิอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ไม่พบปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน, ไม่พบแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย, ไม่พบการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายและแรงงานบังคับแต่อย่างใด ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ให้คำแนะนำผู้ประกอบการ นายจ้าง ลูกจ้าง ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561, การแจ้งเข้าพักอาศัยของคนต่างด้าวภายใน 24 ชม., แนะนำการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522, การตรวจสุขภาพประจำปี, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ และได้แนะนำการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019( COVID-19 )รวมถึงแนะนำแนวทางการช่วยเหลือสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19 ) ตามมาตรการเร่งด่วนของกระทรวงแรงงาน

TOP